นางจันทร์แรม ศรีเดช
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
( นายมาฆะ สืบวงศ์ )
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
แผนที่แหล่งท่องเที่ยวเขาค้อ และใกล้เคียง
การเดินทางโดยรถโดยสาร – เส้นทางกรุงเทพฯ-เขาค้อ มีรถโดยสารของ พิษณุโลกยานยนต์ โทรสอบถามเวลา 02 936 2924-5 – บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถปรับอากาศชั้น 2 และรถธรรมดากรุงเทพฯ-เพชรบูรณ์-หล่มสัก ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 2936 2852–66 สาขาเพชรบูรณ์ โทร. 0 5672 1581 รถยนต์ส่วนตัวจากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถ.พหลโยธิน เส้นทางไปสระบุรี ==> เลี้ยวซ้ายเข้าทางเลี่ยงเมืองสระบุรี มุ่งหน้าลพบุรี – เพชรบูรณ์ บนทางหลวงหมายเลข 21 ใช้เส้นทาง ทางหลวงหมายเลข 21 ตลอดเส้นทางผ่านอ.ชัยบาดาล อ.ศรีเทพ อ.วิเชียรบุรี อ. บึงสามพัน อ.เมือง มุ่งหน้าอ.หล่มสัก จนถึง สี่แยกพ่อขุนผาเมือง กม.261==>เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ ทางหลวงหมายเลข 12 มุ่งหน้าสู่จังหวัดพิษณุโลก ประมาณ 20 กม. จะถึงสามแยกแคมป์สน(เข้าเขาค้อ) ให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2196 ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีแหล่งท่องเที่ยว และรีสอร์ตต่างๆบนเขาค้อตลอดเส้นทาง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง หรือ เส้นทางที่ 2 ใช้ทางหลวงหมายเลข1 ถ.พหลโยธิน เส้นทางสระบุรี ==>เลี้ยวซ้ายเข้าทางเลี่ยงเมืองก่อนถึงสระบุรี มุ่งหน้าลพบุรี- เพชรบูรณ์ ทางหลวงหมายเลข 21 ผ่านอ.ต่างๆในจังหวัดลพบุรี จนถึงอ.เมือง เพชรบูรณ์ เลยอำเภอเมืองประมาณ 13 กิโลเมตร ถึงแยกนางั่ว เลี้ยวซ้ายเข้าถนนหมายเลข 2196 เส้นทางนางั่ว-เขาค้อ ผ่านจุดทดสอบเนินมหัศจรรย์ เส้นทางท่องเที่ยว และรีสอร์ตต่างๆ บนเขาค้อ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง หรือ เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1ถนนพหลโยธิน ถึงอำเภอวังน้อยแล้วแยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์แล้วใช้เส้นทางหมายเลข 117 ตรงเข้าจังหวัดพิษณุโลก จากนั้นใช้ทางหมายเลข 12เส้นพิษณุโลก-หล่มสัก ผ่านเขาค้อ-หล่มสัก เข้าจังหวัดเพชรบูรณ์ รวมระยะทาง 547 กิโลเมตร |
กำหนดเวลาเดินรถของพิษณุโลกยานยนต์ เที่ยวไป จากกรุงเทพฯ เวลาออก เวลาถึง สายที่/เส้นทาง เที่ยวกลับ เข้ากรุงเทพฯ เวลาออก เวลาถึง สายที่/เส้นทาง *รถเที่ยวเวลา 19:00 น. เป็นต้นไปจนถึงเที่ยวสุดท้ายของวัน ไม่มีบริการอาหาร (มีขนมกับน้ำแจก) อัตราค่าโดยสารปรับอากาศชั้น 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ราคา 297 บาท (แก้ไขเมื่อวันที่ 25/11/2551) ประตูน้ำพระอินทร์ (ร้านอำนวนพรออโต้แอร์) โทร.035-361194 ศูนย์บริการลูกค้าสำนักงานพิษณุโลกยานยนต์ ถนนพิชัยสงคราม โทร.055-302021-22 สถานีขนส่งสุโขทัย โทร.055-614886 ข้อมูล
จาก http://www.khaoko.com |
แผนที่แหล่งท่องเที่ยวเขาค้อ และใกล้เคียง
การเดินทางโดยรถโดยสาร – เส้นทางกรุงเทพฯ-เขาค้อ มีรถโดยสารของ พิษณุโลกยานยนต์ โทรสอบถามเวลา 02 936 2924-5 – บริษัท ขนส่ง จำกัด มีบริการเดินรถปรับอากาศชั้น 2 และรถธรรมดากรุงเทพฯ-เพชรบูรณ์-หล่มสัก ออกจากสถานีขนส่งหมอชิต 2 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 0 2936 2852–66 สาขาเพชรบูรณ์ โทร. 0 5672 1581 รถยนต์ส่วนตัวจากกรุงเทพฯ ใช้ทางหลวงหมายเลข 1 ถ.พหลโยธิน เส้นทางไปสระบุรี ==> เลี้ยวซ้ายเข้าทางเลี่ยงเมืองสระบุรี มุ่งหน้าลพบุรี – เพชรบูรณ์ บนทางหลวงหมายเลข 21 ใช้เส้นทาง ทางหลวงหมายเลข 21 ตลอดเส้นทางผ่านอ.ชัยบาดาล อ.ศรีเทพ อ.วิเชียรบุรี อ. บึงสามพัน อ.เมือง มุ่งหน้าอ.หล่มสัก จนถึง สี่แยกพ่อขุนผาเมือง กม.261==>เลี้ยวซ้ายเข้าสู่ ทางหลวงหมายเลข 12 มุ่งหน้าสู่จังหวัดพิษณุโลก ประมาณ 20 กม. จะถึงสามแยกแคมป์สน(เข้าเขาค้อ) ให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 2196 ซึ่งเป็นเส้นทางที่มีแหล่งท่องเที่ยว และรีสอร์ตต่างๆบนเขาค้อตลอดเส้นทาง ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง หรือ เส้นทางที่ 2 ใช้ทางหลวงหมายเลข1 ถ.พหลโยธิน เส้นทางสระบุรี ==>เลี้ยวซ้ายเข้าทางเลี่ยงเมืองก่อนถึงสระบุรี มุ่งหน้าลพบุรี- เพชรบูรณ์ ทางหลวงหมายเลข 21 ผ่านอ.ต่างๆในจังหวัดลพบุรี จนถึงอ.เมือง เพชรบูรณ์ เลยอำเภอเมืองประมาณ 13 กิโลเมตร ถึงแยกนางั่ว เลี้ยวซ้ายเข้าถนนหมายเลข 2196 เส้นทางนางั่ว-เขาค้อ ผ่านจุดทดสอบเนินมหัศจรรย์ เส้นทางท่องเที่ยว และรีสอร์ตต่างๆ บนเขาค้อ ใช้เวลาเดินทางประมาณ 5 ชั่วโมง หรือ เส้นทางที่ 3 จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางหลวงหมายเลข 1ถนนพหลโยธิน ถึงอำเภอวังน้อยแล้วแยกเข้าเส้นทางหลวงหมายเลข 32 ผ่านจังหวัดพระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สิงห์บุรี ชัยนาท เข้านครสวรรค์แล้วใช้เส้นทางหมายเลข 117 ตรงเข้าจังหวัดพิษณุโลก จากนั้นใช้ทางหมายเลข 12เส้นพิษณุโลก-หล่มสัก ผ่านเขาค้อ-หล่มสัก เข้าจังหวัดเพชรบูรณ์ รวมระยะทาง 547 กิโลเมตร |
กำหนดเวลาเดินรถของพิษณุโลกยานยนต์ เที่ยวไป จากกรุงเทพฯ เวลาออก เวลาถึง สายที่/เส้นทาง เที่ยวกลับ เข้ากรุงเทพฯ เวลาออก เวลาถึง สายที่/เส้นทาง *รถเที่ยวเวลา 19:00 น. เป็นต้นไปจนถึงเที่ยวสุดท้ายของวัน ไม่มีบริการอาหาร (มีขนมกับน้ำแจก) อัตราค่าโดยสารปรับอากาศชั้น 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ราคา 297 บาท (แก้ไขเมื่อวันที่ 25/11/2551) ประตูน้ำพระอินทร์ (ร้านอำนวนพรออโต้แอร์) โทร.035-361194 ศูนย์บริการลูกค้าสำนักงานพิษณุโลกยานยนต์ ถนนพิชัยสงคราม โทร.055-302021-22 สถานีขนส่งสุโขทัย โทร.055-614886 ข้อมูล
จาก http://www.khaoko.com |
วิสัยทัศน์
เขาค้อ ดินแดนแห่งความสุข
วิสัยทัศน์
เขาค้อ ดินแดนแห่งความสุข
ประวัติ อบต.เขาค้อ
จากความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย จึงทำให้เกิดสงครามก่อการร้ายขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 โดยเฉพาะเขตพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ พิษณุโลกและเลย ซึ่งฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพิจารณาแล้ว เห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็น พื้นที่ที่เหมาะสม สภาพทั่วไปเป็นป่าเขาสลับซับซ้อนยากที่รัฐบาลจะปราบปรามได้โดยใช้เขาค้อเป็นศูนย์กลาง”
ต่อมากองทัพบกได้มอบหมายให้กองทัพภาคที่ 3 รับผิดชอบในการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โดยจัดตั้งกอบัญชาการผสม 394 ขึ้นที่สนามบินอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2511 ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของชุดควบคุมที่ 33 และได้ดำเนินการต่อสู้อย่างต่อเนื่องกันมา โดยผ่านยุทธการที่สำคัญ ๆ รวม 13 ครั้ง เช่น ยุทธการภูขี้เถ้า ยุทธการรามสูร ยุทธการผาเมืองเผด็จศึก –13 ยุทธการผาเมืองเกรียงไกร เป็นต้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2514 –2515 กองทัพภาคที่ 3 ได้เริ่มสร้างถนนแยกจาก สายพิษณุโลก-หล่มสัก ตรงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 100 บ้านแคมป์สนไปยังบ้านเล่าลือ และในปี พ.ศ. 2517 ได้มีแนวความคิดที่จะลดความกดดันขัดขวางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประ เทศไทย (พคท) โดยสร้างถนนอีกสายที่บ้านนางั่วไปยังบ้านสะเดาะพงเพื่อเชื่อมกั บถนนสายแรกที่บ้านสะเดาะพง แต่ได้รับการขัดขวางและต่อต้านอย่างรุนแรง จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างมากในปี พ.ศ. 2518 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมกองร้อยพิเศษค่ายสฤษดิ์เสนา จังหวัดพิษณุโลก และทรงมีพระราชดำริให้ใช้ “แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา” เพื่อยุติสถานการณ์สู้รบ โดยที่จะใช้พื้นที่ทั้งสองข้างทางเป็นประโยชน์กับราษฎรทั่ว ๆ ไป มิใช่เฉพาะทหารเท่านั้น
กองทัพภาคที่ 3 จึงได้จัดตั้งหมู่บ้านยุทธศาสตร์พัฒนาขึ้น โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง เป็นทุนในการก่อสร้างทางครั้งแรก โดยตั้งเป็นกองอำนวยการ “โครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก” โดยมีงานหลักคือ การก่อสร้างทางลาดยางทุ่งสมอ – เขาค้อ ตลอดสายการฝึกราษฎรอาสาสมัคร การจัดสรรที่ดินทำกินให้กับราษฎร การจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และเรียกโครงการนี้ว่า “โครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก” เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2520 เป็นต้นมาและในปี พ.ศ. 2522 ได้มีประชาชน อาสาสมัครเข้ามาอยู่ในพื้นที่เบาบาง เริ่มมีการจัดตั้งหมู่บ้านตามถนนสายแคมป์สน – สะเดาะพง ซึ่งแต่ละหมู่บ้านของตำบลเขาค้อ ได้มีการตั้งชื่อตามทหารหรืออาสาสมัครที่ได้พลีชีพปกป้องอธิปไต ยของชาติในพื้นที่นั้น ๆ
ต่อมาได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านขึ้นอีก เนื่องจากมีประชากรเพิ่มขึ้นจนสามารถตั้งเป็นตำบลได้ ตำบลเขาค้อจึงได้ก่อตั้งขึ้นนับแต่นั้นมา เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2547 สภาตำบลริมสีม่วงและสภาตำบลสะเดาะพงได้ยุบรวมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ ทำให้มีเขตความรับผิดชอบที่มากขึ้นจากเดิม 14 หมู่บ้านเป็น 25 หมู่บ้าน
ประวัติ อบต.เขาค้อ
จากความขัดแย้งทางด้านอุดมการณ์ทางการเมืองในประเทศไทย จึงทำให้เกิดสงครามก่อการร้ายขึ้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2508 โดยเฉพาะเขตพื้นที่รอยต่อ 3 จังหวัด คือ เพชรบูรณ์ พิษณุโลกและเลย ซึ่งฝ่ายต่อต้านรัฐบาลพิจารณาแล้ว เห็นว่าพื้นที่ดังกล่าวเป็น พื้นที่ที่เหมาะสม สภาพทั่วไปเป็นป่าเขาสลับซับซ้อนยากที่รัฐบาลจะปราบปรามได้โดยใช้เขาค้อเป็นศูนย์กลาง”
ต่อมากองทัพบกได้มอบหมายให้กองทัพภาคที่ 3 รับผิดชอบในการต่อสู้กับผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์ โดยจัดตั้งกอบัญชาการผสม 394 ขึ้นที่สนามบินอำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2511 ซึ่งปัจจุบันเป็นที่ตั้งของชุดควบคุมที่ 33 และได้ดำเนินการต่อสู้อย่างต่อเนื่องกันมา โดยผ่านยุทธการที่สำคัญ ๆ รวม 13 ครั้ง เช่น ยุทธการภูขี้เถ้า ยุทธการรามสูร ยุทธการผาเมืองเผด็จศึก –13 ยุทธการผาเมืองเกรียงไกร เป็นต้นเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2514 –2515 กองทัพภาคที่ 3 ได้เริ่มสร้างถนนแยกจาก สายพิษณุโลก-หล่มสัก ตรงบริเวณหลักกิโลเมตรที่ 100 บ้านแคมป์สนไปยังบ้านเล่าลือ และในปี พ.ศ. 2517 ได้มีแนวความคิดที่จะลดความกดดันขัดขวางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประ เทศไทย (พคท) โดยสร้างถนนอีกสายที่บ้านนางั่วไปยังบ้านสะเดาะพงเพื่อเชื่อมกั บถนนสายแรกที่บ้านสะเดาะพง แต่ได้รับการขัดขวางและต่อต้านอย่างรุนแรง จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทั้งสองฝ่ายเป็นอย่างมากในปี พ.ศ. 2518 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมกองร้อยพิเศษค่ายสฤษดิ์เสนา จังหวัดพิษณุโลก และทรงมีพระราชดำริให้ใช้ “แผนยุทธศาสตร์การพัฒนา” เพื่อยุติสถานการณ์สู้รบ โดยที่จะใช้พื้นที่ทั้งสองข้างทางเป็นประโยชน์กับราษฎรทั่ว ๆ ไป มิใช่เฉพาะทหารเท่านั้น
กองทัพภาคที่ 3 จึงได้จัดตั้งหมู่บ้านยุทธศาสตร์พัฒนาขึ้น โดยที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้พระราชทานพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง เป็นทุนในการก่อสร้างทางครั้งแรก โดยตั้งเป็นกองอำนวยการ “โครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก” โดยมีงานหลักคือ การก่อสร้างทางลาดยางทุ่งสมอ – เขาค้อ ตลอดสายการฝึกราษฎรอาสาสมัคร การจัดสรรที่ดินทำกินให้กับราษฎร การจัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร และเรียกโครงการนี้ว่า “โครงการพัฒนาลุ่มน้ำเข็ก” เริ่มดำเนินการเมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2520 เป็นต้นมาและในปี พ.ศ. 2522 ได้มีประชาชน อาสาสมัครเข้ามาอยู่ในพื้นที่เบาบาง เริ่มมีการจัดตั้งหมู่บ้านตามถนนสายแคมป์สน – สะเดาะพง ซึ่งแต่ละหมู่บ้านของตำบลเขาค้อ ได้มีการตั้งชื่อตามทหารหรืออาสาสมัครที่ได้พลีชีพปกป้องอธิปไต ยของชาติในพื้นที่นั้น ๆ
ต่อมาได้มีการจัดตั้งหมู่บ้านขึ้นอีก เนื่องจากมีประชากรเพิ่มขึ้นจนสามารถตั้งเป็นตำบลได้ ตำบลเขาค้อจึงได้ก่อตั้งขึ้นนับแต่นั้นมา เมื่อวันที่ 29 กันยายน 2547 สภาตำบลริมสีม่วงและสภาตำบลสะเดาะพงได้ยุบรวมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ ทำให้มีเขตความรับผิดชอบที่มากขึ้นจากเดิม 14 หมู่บ้านเป็น 25 หมู่บ้าน
นางจันทร์แรม ศรีเดช
นายกองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
( นายมาฆะ สืบวงศ์ )
ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบลเขาค้อ
|
องค์การบริหารส่วนตำบล เขาค้อ 183 หมู่13 www.khaokho.go.th อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ 67270 โทรศัพท์ 0-5672-8068 โทรสาร 0-5672-8069 |